ประวัติโรงเรียนร่มเกล้า ปราจีนบุรี โรงเรียนร่มเกล้า โรงเรียนในโครงการพระราชดำริ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
(หนังสือราชการกรมศิลปากร ที่ วธ ๐๔๐๑/๒๕๖๑)
โรงเรียนร่มเกล้าเป็นโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ทรงวางแผนพัฒนา ทรงเสนอแนะให้รัฐบาลร่วมดำเนินการตามแนวพระราชดำริ โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนินร่วมทรงงานกับหน่วยงานรัฐซึ่งมีทั้งฝ่ายทหาร
ตำรวจ และพลเรือน และกระจายอยู่ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย
แนวคิดในการก่อตั้งโรงเรียนร่มเกล้าระยะแรกสืบเนื่องจากครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่ง ในขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์พยายามเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลทางความคิดของประชาชน
ด้วยทรงตระหนักถึงปัญหาของการขาดแคลนทางการศึกษาที่เป็นสิ่งสำคัญในการหลุดพ้นจากการครอบงำทางความคิด
ทรงแก้ไขปัญหาโดยการให้ปัญญากับประชาชนในรูปแบบของการศึกษาในโรงเรียนเพื่อการพัฒนาต่อไปในอนาคต ด้วยพระกรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จอยู่หัว ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย
ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนในการดำเนินการสร้างโรงเรียนประถมศึกษาที่บ้านหนองแค
ตำบลดงหลวง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม และพระราชทานนามว่า “โรงเรียนร่มเกล้า”
ซึ่งเป็นโรงเรียนพระราชทานแห่งแรกของประเทศไทย
ต่อมาเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมเยือนราษฎรตามภูมิภาคและจังหวัดต่าง ๆ
ทรงตระหนักถึงเรื่องการศึกษา
ทรงห่วงใยในเรื่องการจัดการศึกษาของเด็กและเยาวชนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร แนวคิดในการก่อตั้ง กลุ่มโรงเรียนร่มเกล้าจึงปรับเปลี่ยนไปเป็นช่วยเหลือเด็กที่อยู่ห่างไกลให้ได้รับโอกาสทางการศึกษา
มากขึ้น
กลุ่มโรงเรียนร่มเกล้าและเครือข่ายทั้ง ๑๒ แห่ง
จึงจัดตั้งอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศไทย
โรงเรียนร่มเกล้าเป็นโครงการตามพระราชดำริ เริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๖ เพื่อนำกลยุทธ์ “บ้านล้อมป่า”
ออกมาต่อสู้จนสามารถเอาชนะผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งในกลยุทธ์ “ป่าล้อมเมือง” ไปได้แล้ว บัดนี้มีโรงเรียนร่มเกล้า ๑๒ แห่ง
เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ครูและนักเรียนมีปณิธานพิทักษ์ชาติ ศาสน์
กษัตริย์
โดยสถานศึกษาเป็นผู้นำชุมชนในด้านการศึกษา การข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยี
วิทยาศาสตร์ การเกษตร การผลิต การตลาด การกีฬา การท่องเที่ยว
รวมทั้งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ดังนั้นสถานศึกษาจึงเป็นศูนย์ประสานงานอาสาสมัครพิทักษ์ชาติ
ศาสน์ กษัตริย์ ไปด้วยโดยปริยาย นับตั้งแต่วันเสียงปืนแตกวันที่ ๘
สิงหาคม ๒๕๑๐ ซึ่งฝ่ายผู้ก่อการร่ายคอมมิวนิสต์ใช้นโยบาย “ป่าล้อมเมือง”
ไปยังอำเภอธาตุพนม ไม่ค่อยมีรถกล้าผ่านไปมา
กองทัพบกนำยุทธวิธีอันชาญฉลาด “บ้านล้อมป่า” สร้างชุมชนล้อมรอบป่าไม้ให้มีความเจริญทางเศรษฐกิจ
การคมนาคมดี การศึกษาดี
จึงมีโรงเรียนร่มเกล้าเกิดขึ้นล้อมรอบเทือกเขาภูพานไว้ ด้านตะวันออกมีโรงเรียนร่มเกล้า บ้านหนองแคน จังหวัดนครพนม (ปัจจุบัน
ตำบลดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร)
ด้านเหนือมีโรงเรียน ร่มเกล้า อำเภอโคกศรีสุพรรณ
จังหวัดสกลนคร โรงเรียนร่มเกล้าแห่งแรก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงเรียนที่บ้านหนองแคน ตำบลหนองหลวง
อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันเป็นอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร) เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๑๖
โดยพระราชทานนามว่า “โรงเรียนร่มเกล้า”
ซึ่งนับเป็นโรงเรียนร่มเกล้าแห่งแรกของประเทศไทย
ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๙๒,๐๖๓ บาท
นายทหารที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนร่มเกล้าแห่งแรก คือ พันเอกอาทิตย์
กำลังเอก ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมผสมที่ ๒๓
รับผิดชอบในพื้นที่อำเภอนาแก ระหว่างจังหวัดนครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์
และมุกดาหาร ผ่านไปแล้วเกือบ ๔๐ ปี
โรงเรียนร่มเกล้า บ้านหนองแคน
ยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์
อาคารพระราชทานยังคงรับใช้ครูและนักเรียนตลอดมา ต้นไม้ ๒ ต้นซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถทรงปลูกไว้ในวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๑๖
เจริญงอกงามหน้าอาคารพระราชทาน
มีอาคารเพิ่มขึ้นโดยงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปถึงประถมศึกษาปีที่
๖ แถมขยายมี
ชั้นมัธยมศึกษาเพิ่มขึ้นในปีการศึกษา ๒๕๔๖
ที่เปลี่ยนไปคือกิ่งอำเภอดงหลวง จังหวัดนครพนม ย้ายไปเป็นอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ทางหลวงชนบทผ่านหน้าโรงเรียนลาดยางเรียบร้อย
ไม่เป็นถนนดินแดงเหมือนสมัยผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์มีอิทธิพลอยู่ การขยายกิจการร่มเกล้าเย็นศิระ หลังจากนั้นมาโรงเรียนร่มเกล้า
โรงเรียนเย็นศิระอันเป็นโครงการตามพระราชดำริก็เติบโตขยายกิจการเพิ่มขึ้นไปหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง
โดยกองทัพบกเป็นผู้รับพระราชดำริไปดำเนินการ
โรงเรียนเย็นศิระแห่งแรกและแห่งเดียวที่เกิดขึ้นในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในปี ๒๕๑๖
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการฝายน้ำล้นเขาโต๊ะแก
ตำบลบาเจาะ อำเภอยี่งอ โปรดเกล้าฯ
ให้ปรับปรุงโรงเรียนประถมบูเกะกอตอที่มีอยู่แล้วให้รับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาเพิ่ม แยกเป็น ๒ โรงเรียนในพื้นที่เดียวกัน พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๑๓๘,๑๘๙ บาท
ให้ทหารจากค่ายเสนาณรงค์สร้างอาคารพระราชทาน ให้ทันวันเปิดภาคเรียนในปี ๒๕๑๙ ต่อมาเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๑๘
พระราชทานชื่อว่า “โรงเรียนร่มเกล้า”
ปัจจุบันเปิดการสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ นักเรียนทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม
ในด้านกองทัพบกได้มีการรณรงค์เปิดอบรมอาสาสมัครหลักสูตรความมั่นคงของชาติขึ้น ทั่วประเทศ
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ ได้ตั้งคณะกรรมการส่งเสริมความมั่นคงของชาติ
โดยมีพลเอกประยุทธ จารมณี ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานท่านแรก
มีสมาคมสตรีอาสาสมัครรักษาดินแดนเป็นกรรมการ นางสุดารัตน์ นาคามดี
ในฐานะประธานสุรสีห์รุ่นที่ ๓ และเลขาธิการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ
เป็นกรรมการและเลขานุการ ต่อมาจัดตั้ง
“คณะกรรมการประสานงานอาสาสมัครสุรสีห์ร่มเกล้า” เพื่อรณรงค์หาทุนก่อสร้างโรงเรียนร่มเกล้าโดยเฉพาะ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ
ได้นำเงินทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม
๒๕๒๔ ซึ่งโปรดให้พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก รับไปดำเนินการตั้งเป็น “กองทุนพระราชทานสร้างโรงเรียนร่มเกล้า
โครงการพระราชดำริ” ในด้านกองทัพภาคที่ ๓
และคณะกรรมการสุรสีห์ร่มเกล้าได้รณรงค์หาทุนแข่งขันโบว์ลิ่ง จัดรายการโทรทัศน์และนำเงินทูลเกล้าฯ
ถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้
พลโทรวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ แม่ทัพภาคที่
๓ ไปดำเนินการสร้างโรงเรียนร่มเกล้า เขาค้อ
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในพระราชวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา
ต่อมาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๘
และเปิดโรงเรียนเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๒๙ นั้น
บัดนี้นักเรียนหลายคนกำลังเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่จังหวัดพิษณุโลก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมารได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานเข็มสุรสีห์ ร่มเกล้า (ทองคำ) ประดับพระนามาภิไทย จำนวน ๙
อัน ให้แก่คณะกรรมการ และพระราชทานเข็ม สุรสีห์ร่มเกล้า (ลงยา) จำนวน ๙๙๐ อัน
เพื่อมอบให้ผู้บริจาคและผู้เกี่ยวข้องกับโครงการโรงเรียน ร่มเกล้าต่อไป ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๖ มีนักเรียนชายและหญิงประมาณ ๔๕๐ คน พลตรีไพโรจน์
จันทร์อุไร ผู้บัญชาการกองทัพพลม้าที่ ๑ พลตรีวิศิษ อาจคุ้มวงษ์
เสนาธิการกองทัพภาคที่ ๓ พันเอกอินทรัตน์ ยอดบางเตย หัวหน้ากองกิจการพลเรือน
พันโทอนุสรณ์ คชรัตน์ เป็นกรรมการและเลขานุการ (ต่อมาในปี ๒๕๕๒ คือพลเอกจิรเดช
คชรัตน์ รองผู้บัญชาการทหารบก) ด้านเหนือของเทือกเขาภูพาน
จังหวัดสกลนครมีโรงเรียนร่มเกล้า อำเภอโคกศรีสุพรรณ ซึ่งโปรดเกล้าฯ
พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๕๕,๙๙๙ บาท เป็นทุนดำเนินการในช่วงแรก ให้พลตรีเปรมติณสูลานนท์ รองแม่ทัพภาคที่ ๒
รับไปดำเนินการ
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงเรียนเมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๘ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ
สยามมกุฎราชกุมารทรงปลูกต้นสนฉัตรที่หน้าอาคาร เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๙ บัดนี้ต้นสนฉัตรเติบโตงดงาม จังหวัดปราจีนบุรีในยุคของนายอารีย์
วงศ์อารยะ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด มีโรงเรียนร่มกล้าเกิดขึ้น ๓ โรงเรียน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยบางทราย และตั้งโรงเรียนร่มเกล้าโนนหมากแข้ง
จังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบัน คือ โรงเรียนร่มเกล้าวัฒนานคร ตั้งที่บ้านคลองทราย
ตำบลหนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว) ส่วนโรงเรียนมัธยมใกล้เคียง คือ
โรงเรียนร่มเกล้า วัฒนานคร รัชมังคลาภิเษก จังหวัดสระแก้ว ประกาศตั้งเป็นโรงเรียนเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม
๒๕๓๑ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารีเสด็จเปิดอาคารรัชมังคลาภิเษกเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๔ โรงเรียนที่สามของจังหวัดปราจีนบุรี
คือ โรงเรียนร่มเกล้า ปราจีนบุรี ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี
โดยสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ ได้มอบเงินค่าก่อสร้างจำนวน ๑.๕
ล้านบาทให้กองทัพบกให้ดำเนินการก่อสร้าง พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารบก
พร้อมด้วยพลตรีจรวย วงศ์สายันต์ ผู้บังคับบัญชามณฑลทหารบกปราจีนบุรี และนายอารีย์
วงศ์อารยะ ได้ไปในพิธีเปิดโรงเรียนเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๒๖ จังหวัดกาญจนบุรี
มีโรงเรียนร่มเกล้าสร้างขึ้นที่ตำบลลิ่นถิ่น อำเภอทองผาภูมิ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก
ผู้บังคับบัญชาทหารบก พร้อมด้วย ม.ล.ภัคสุ กำกู ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี พลตรีวันชัย เรืองตระกูล
เสนาธิการกองทัพบกภาคที่ ๑ ได้ไปในพิธีเปิดโรงเรียนร่มเกล้า กาญจนบุรี เมื่อวันที่
๑๐ สิงหาคม ๒๕๒๖ ทั้งนี้บริษัท สุราทิพย์
จำกัด โดยคุณเจริญ และคุณหญิงวรรณา
สิริวัฒนภักดี มอบเงินค่าก่อสร้างจำนวน ๑.๕ ล้านบาท จังหวัดอุดรธานี มีโรงเรียนร่มเกล้า ๒
แห่ง โรงเรียนร่มเกล้า วัดถ้ำกลองเพล เปิดในปี ๒๕๒๐ (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนร่มเกล้า
จังหวัดหนองบัวลำภู) และโรงเรียนร่มเกล้า ตำบลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี
ตั้งอยู่ริมทางหลวง หมายเลข ๒๒๓๙ ถนนบ้านต้อง-ศรีธาตุ เปิดการสอนชั้นประถมศึกษา ตั้งแต่ปี
๒๕๒๑ เป็นต้นมา จังหวัดบุรีรัมย์
มีโรงเรียนร่มเกล้าที่ใกล้บริเวณอนุสาวรีย์เราสู่
ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งฐานปืนใหญ่
ที่ตำบลโนนดินแดง อำเภอละหานทราย
เปิดการเรียนครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๒๔ ชื่อโรงเรียนโนนดินแดงพิทยาคม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนร่มเกล้า
บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๒๕
เปิดการสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีโรงเรียนร่มเกล้า
ปางตอง ตั้งอยู่ภายในเขตพระราชฐานปางตอง
ใกล้ชายแดนไทย-พม่า
ชุมชนใกล้เคียงจึงล้วนแล้วเป็นชาวไทยภูเขาหลายเผ่า บางคนยังไม่มี บัตรประชาชน ไม่มีนามสกุล
ปัจจุบันเปิดการเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
นักเรียนอยู่ประจำทั้งหมด
ปัจจุบันมีโรงเรียนร่มเกล้าทั้งประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั้งหมดเป็นโรงเรียนรัฐบาล ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นโรงเรียนประถมศึกษา ๖ แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษา ๖ แห่ง รวม ๑๒ แห่ง คือ ๑.
โรงเรียนร่มเกล้า บ้านหนองแคน อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ๒.
โรงเรียนร่มเกล้า บ้านโนนหมากแข้ง อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ๓.
โรงเรียนร่มเกล้า อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี ๔.
โรงเรียนร่มเกล้า หนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู ๕.
โรงเรียนร่มเกล้า ปางตอง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ๖.
โรงเรียนร่มเกล้า อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ๗.
โรงเรียนร่มเกล้า บ้านชมเจริญ อำเภอปากชม จังหวัดเลย ๘.
โรงเรียนร่มเกล้า อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ๙.
โรงเรียนร่มเกล้า อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ๑๐.
โรงเรียนร่มเกล้า อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ๑๑.
โรงเรียนร่มเกล้า อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ๑๒.
โรงเรียนร่มเกล้า อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์
ประวัติโรงเรียนร่มเกล้า ปราจีนบุรี โรงเรียนร่มเกล้า
เป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นตามพระบรมราโชบายของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถที่ทรงห่วงใยและเล็งเห็นความสำคัญในการจัดการศึกษาของเด็กและเยาวชนที่อาศัยอยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างไกล สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถทรงพระกรุณามอบหมายภารกิจให้พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารบก ไปดำเนินงานโดยพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก
ได้นำเรื่องนี้ไปปรารภกับคุณสุดารัตน์ นาคามดี ประธานกรรมการสุรสีห์
สภาสังคมสงเคราะห์รุ่นที่ 13 ซึ่งคณะกรรมการสุรสีห์ สภาสังคมสงเคราะห์รุ่นที่
13
เห็นชอบและรับไปดำเนินการหาทุนโดยเสด็จพระราชกุศลในการก่อสร้างโรงเรียนร่มเกล้า โรงเรียนร่มเกล้า
ปราจีนบุรี ตั้งอยู่ที่บ้านทับลาน ตำบลบุพราหมณ์
อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นความริเริ่มของพลตรีจรวย วงศ์สายัณห์
ผู้บัญชาการกองบัญชาการพลเรือน ตำรวจ ทหารที่
12
ได้ปรึกษาหารือกับกองกิจการพลเรือน กองทัพภาคที่ 1
ว่าสมควรจัดหางบประมาณมาสร้างโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาขึ้นในจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อสร้างเป็นโรงเรียนร่มเกล้าในที่สุดตกลงว่าสร้างที่บ้านทับลาน
ตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี
จังหวัดปราจีนบุรี
เนื่องจากเป็นจุดที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ประกอบกับราษฎรในท้องที่อำเภอนาดีโดยทั่วไปมีฐานะยากจน
มีอาชีพเกษตรกรรมไม่สามารถส่งบุตรหลานให้ได้รับการศึกษาสูงกว่าระดับชั้นประถมศึกษาได้ กอปรกับพื้นที่บ้านทับลานเป็นเขตแทรกซึมของ ผกค.
ได้เข้ามาปฏิบัติการใช้กำลังติดอาวุธและปฏิบัติการทางจิตวิทยา เป็นพื้นที่รอยต่อของกองทัพภาคที่ 1
และกองทัพภาคที่ 2 จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาให้มีความมั่นคงและปลอดภัยเพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ กองทัพภาคที่
1 จึงได้เสนอโครงการไปยังสภาสังคมสงเคราะห์ฯเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างโรงเรียน โรงเรียนร่มเกล้า ปราจีนบุรี
ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์
เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.
2525และดำเนินการก่อสร้าง
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม
2525
โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูประถัมภ์ เป็นเงิน 1,500,000.- บาท สร้างอาคารเรียนแบบ 208
จำนวน 1 หลัง
บ้านพักครูแบบ 202 จำนวน
1 หลัง ห้องน้ำห้องส้วมนักเรียนแบบ 6 จำนวน
1 หลัง ตามแบบของทางราชการ โดยได้รับการอนุมัติจากกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนในปีการศึกษา 2526
ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม
2526 มีนักเรียน จำนวน
146 คน แยกเป็นนักเรียนชาย 88
คน นักเรียนหญิง 58
คน มีครูทำการสอน 6
คน นักการภารโรง 2 คน ประกาศ ตั้งเป็นโรงเรียนสังกัดกรมสามัญ
ให้ชื่อว่า”โรงเรียนร่มเกล้า ปราจีนบุรี ”
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน
2526 ลงนาม โดยนายชวน
หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ทำพิธีมอบอาคารเรียนหลังที่
1 ให้กับทางราชการ เมื่อวันที่
16 มิถุนายน 2526
โดยศาสตราจารย์ประภาศน์
อวยชัย ประธานสภาสังคมสังเคราะห์ มอบอาคารเรียนแก่ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก
ผู้บัญชาการทหารบกประธานในพิธี
และพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้ บัญชาการทหารบกมอบอาคารเรียนให้แก่ นายอารีย์
วงศ์อารยะ
ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี |